ออนไลน์ : 4
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
- ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
เทศบาลตำบลหัวตะพาน มีระยะทางห่างจากตัวจังหวัดอำนาจเจริญ 38 กิโลเมตร อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด ใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 50 นาที อยู่ห่างจากจังหวัดยโสธรประมาณ 52 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 70 กิโลเมตร มีพื้นที่เขตเทศบาลทั้งสิ้น 13.50 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ใน 3 ตำบล จำนวน 10 หมู่บ้าน ได้แก่
ตำบลหัวตะพาน ประกอบด้วยหมู่ที่ 1, 2, 6, 7, 8
ตำบลรัตนวารี ประกอบด้วยหมู่ที่ 1, 2, 3, 7
ตำบลหนองแก้ว ประกอบด้วยหมู่ที่ 10
ทิศเหนือ ติดต่อกับเทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก้ว อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลรัตนวารีศรีเจริญ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของเทศบาลตำบลหัวตะพาน เป็นพื้นที่ราบ มีสภาพเป็น
ดินร่วนปนทรายและดินลูกรัง ทอดยาวไปตามแนวสองข้างทางหลวง 2210 โดยมีพื้นที่อ่างเก็บน้ำและลำห้วยเสียวแบ่งครึ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วนใหญ่ ๆ คือ พื้นที่ด้านตำบลรัตนวารี กับพื้นที่ตำบลหัวตะพานพื้นที่ส่วนใหญ่น้ำท่วมไม่ถึงและเป็นที่อยู่อาศัย ยกเว้นพื้นที่บริเวณติดต่อกับอ่างเก็บน้ำและลำห้วย
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม คือ ในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม ในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนระยะนี้อุณหภูมิโดยทั่วไปจะสูงมากทำให้อากาศร้อนอบอ้าว
1.4 ลักษณะของดิน
ทรัพยากรดินสภาพทั่วไปเป็นดินร่วนปนทรายไม่อุ้มน้ำ การกัดเซาะ พังทลาย ของหน้าดินยังไม่มีในพื้นที่ ปัญหาสารพิษในดินยังไม่มีในพื้นที่เช่นเดียวกัน จะมีเพียงดินขาดความอุดมสมบูรณ์ขาดอินทรียวัตถุและแร่ธาตุในดินเท่านั้น
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
ทรัพยากรน้ำแม่น้ำสายหลัก คือ ลำเซบกและลำเซบาย ซึ่งจะมีปริมาณน้ำตลอดทุกฤดูและ มีน้ำหนองสามขาอีกในฤดูแล้งจะตื้นเขิน เทศบาลตำบลหัวตะพานมีอ่างเก็บน้ำที่สำคัญคือ หนองสามขา และ ห้วยเสียว
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
ทรัพยากรป่าไม้ เขตเทศบาลตำบลหัวตะพานไม่มีพื้นที่ป่าไม้อนุรักษ์ คงมีแต่พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมและอยู่ระหว่างการปฏิรูปที่ดินต่อไป
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
เทศบาลตำบลหัวตะพาน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล 10 หมู่บ้าน ได้แก่
- ตำบลหัวตะพาน ประกอบด้วยหมู่ที่ 1, 2, 6, 7, 8
- ตำบลรัตนวารี ประกอบด้วยหมู่ที่ 1, 2, 3, 7
- ตำบลหนองแก้ว ประกอบด้วยหมู่ที่ 10
แบ่งเขตปกครอง เป็น 10 หมู่บ้าน มีผู้นำในชุมชน (ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2567) ดังนี้
บ้านหัวตะพาน หมู่ที่ 1 ตำบลหัวตะพาน ผู้ปกครอง นายวีระพันธ์ บาทชารี กำนันตำบลหัวตะพาน
บ้านหนองขอน หมู่ที่ 2 ตำบลหัวตะพาน ผู้ปกครอง นายสมเกียรติ ลายทอง ผู้ใหญ่บ้าน
บ้านหัวตะพาน หมู่ที่ 6 ตำบลหัวตะพาน ผู้ปกครอง นายสมพงษ์ ทองโพธิ์ศรี ผู้ใหญ่บ้าน
บ้านหัวตะพาน หมู่ที่ 7 ตำบลหัวตะพาน ผู้ปกครอง นายสาคร ยอดมงคล ผู้ใหญ่บ้าน
บ้านหัวตะพาน หมู่ที่ 8 ตำบลหัวตะพาน ผู้ปกครอง นางสุริย์ภรณ์ ปฏิโชคมณี ผู้ใหญ่บ้าน
บ้านรัตนวารี หมู่ที่ 1 ตำบลรัตนวารี ผู้ปกครอง นางระนอง จิตสง่า ผู้ใหญ่บ้าน
บ้านเสียว หมู่ที่ 2 ตำบลรัตนวารี ผู้ปกครอง นายพิศิษฐ์ ภูตะอินทร์ ผู้ใหญ่บ้าน
บ้านเสียว หมู่ที่ 3 ตำบลรัตนวารี ผู้ปกครอง นางสาวถนอม รุขะวัน ผู้ใหญ่บ้าน
บ้านรัตนวารี หมู่ที่ 7 ตำบลรัตนวารี ผู้ปกครอง นายพะแนง อาษาสิงห์ กำนันตำบลรัตนวารี
บ้านแสนสุข หมู่ที่ 10 ตำบลหนองแก้ว ผู้ปกครอง นางกัณณิกา เกษงาม ผู้ใหญ่บ้าน
2.2 การเลือกตั้ง
การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลหัวตะพานและนายกเทศมนตรีตำบลหัวตะพาน เป็นไปตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14 ) พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 ซึ่งการเลือกตั้งสภาเทศบาลตำบลหัวตะพานและนายกเทศมนตรีตำบลหัวตะพาน ครั้งหลังสุด เมื่อวันที่ 28 เดือน มีนาคม พ.ศ.2564 มีจำนวน 12 หน่วยเลือกตั้ง แบ่งเป็น 2 เขตเลือกตั้ง ดังนี้
2.2.1 การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีตำบลหัวตะพาน เมื่อวันที่ 28 เดือน มีนาคม พ.ศ.2564
1. จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 5.505 คน
2. จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาแสดงตนรับบัตรเลือกตั้ง 3,953 คน คิดเป็นร้อยละ 71.81
3. จำนวนบัตรดี 3,842 บัตร คิดเป็นร้อยละ 97.19
4. จำนวนบัตรเสีย 92 บัตร คิดเป็นร้อยละ 2.33
5. จำนวนบัตรเลือกตั้งที่ทำเครื่องหมายในช่องไม่ลงคะแนน 19 บัตร คิดเป็นร้อยละ 0.48
2.2.2 การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลหัวตะพาน เมื่อวันที่ 28 เดือน มีนาคม พ.ศ.2564
เขตเลือกตั้งที่ 1
1. จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2,699 คน
2. จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาแสดงตนรับบัตรเลือกตั้ง 1,927 คน คิดเป็นร้อยละ 71.40
3. จำนวนบัตรดี 1,842 บัตร คิดเป็นร้อยละ ๙5.59
4. จำนวนบัตรเสีย 75 บัตร คิดเป็นร้อยละ 3.89
5. จำนวนบัตรเลือกตั้งที่ทำเครื่องหมายในช่องไม่ลงคะแนน 10 บัตร คิดเป็นร้อยละ 0.52
เขตเลือกตั้งที่ 2
1. จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2,806 คน
2. จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาแสดงตนรับบัตรเลือกตั้ง 2,023 คน คิดเป็นร้อยละ 72.09
3. จำนวนบัตรดี 1,955 บัตร คิดเป็นร้อยละ 96.63
4. จำนวนบัตรเสีย 60 บัตร คิดเป็นร้อยละ 2.96
๕. จำนวนบัตรเลือกตั้งที่ทำเครื่องหมายในช่องไม่ลงคะแนน 8 บัตร คิดเป็นร้อยละ 0.39
3. ประชากร
3.1
จำนวนประชากรและความหนาแน่นประชากร จากข้อมูลสำนักงานทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลหัวตะพานณ วันที่ 1 ธันวาคม 2566 มีประชาชนรวมทั้งสิ้น 6,746 คนแยกเป็นชาย 3,299 คน หญิง 3,447 คนมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,300 ครัวเรือน แยกตามหมู่บ้านดังนี้
ตาราง 3.1.1 จำนวนครัวเรือนเปรียบเทียบ พ.ศ. 2564-2566
ตำบล | หมู่บ้าน | หมู่ที่ | พ.ศ. 2564 | พ.ศ. 2565 | พ.ศ. 2566 |
หัวตะพาน | บ้านหัวตะพาน | 1 | 207 | 210 | 213 |
บ้านหนองขอน | 2 | 165 | 166 | 168 | |
บ้านหัวตะพาน | 6 | 121 | 121 | 121 | |
บ้านหัวตะพาน | 7 | 228 | 230 | 234 | |
บ้านหัวตะพาน | 8 | 249 | 253 | 256 | |
รัตนวารี | บ้านรัตนวารี | 1 | 390 | 395 | 419 |
บ้านเสียว | 2 | 125 | 127 | 130 | |
บ้านเสียว | 3 | 195 | 402 | 428 | |
บ้านรัตนวารี | 7 | 401 | 402 | 428 | |
หนองแก้ว | บ้านแสนสุข | 10 | 120 | 127 | 129 |
รวม | 10 | 2,201 | 2,229 | 2,300 |
หมู่บ้าน | หมู่ที่ | 30 ธ.ค. 2564 | 30 ธ.ค. 2565 | 30 ธ.ค. 2566 | ||||||
ชาย | หญิง | รวม | ชาย | หญิง | รวม | ชาย | หญิง | รวม | ||
บ้านหัวตะพาน | 1 | 403 | 450 | 853 | 412 | 453 | 866 | 413 | 463 | 876 |
บ้านหนองขอน | 2 | 341 | 311 | 652 | 338 | 311 | 653 | 349 | 308 | 657 |
บ้านหัวตะพาน | 6 | 233 | 263 | 496 | 234 | 258 | 494 | 228 | 253 | 481 |
บ้านหัวตะพาน | 7 | 410 | 419 | 829 | 403 | 413 | 811 | 417 | 402 | 819 |
บ้านหัวตะพาน | 8 | 469 | 464 | 933 | 478 | 466 | 938 | 459 | 436 | 895 |
บ้านรัตนวารี | 1 | 395 | 454 | 849 | 392 | 443 | 837 | 393 | 451 | 844 |
บ้านเสียว | 2 | 216 | 259 | 475 | 216 | 259 | 475 | 218 | 257 | 475 |
บ้านเสียว | 3 | 337 | 358 | 695 | 335 | 362 | 694 | 332 | 368 | 700 |
บ้านรัตนวารี | 7 | 366 | 343 | 709 | 362 | 341 | 701 | 341 | 330 | 671 |
บ้านแสนสุข | 10 | 149 | 174 | 323 | 149 | 178 | 326 | 149 | 179 | 328 |
รวมทั้งสิ้น | 3,319 | 3,495 | 6,814 | 3,319 | 3,484 | 6,801 | 3,299 | 3,447 | 6,746 |
(ที่มา : สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลหัวตะพาน )
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร
จำนวนประชากรแยกตามเกณฑ์อายุ | ชาย (คน) | หญิง (คน) | รวม (คน) | คิดเป็นร้อยละ |
ประชากรช่วงวัยทารก (แรกเกิด - 2 ปี) | 78 | 82 | 160 | 2.35 |
ประชากรช่วงวัยเด็ก (เริ่มตั้งแต่อายุ 2 - 12 ปี | 333 | 324 | 657 | 9.64 |
ประชากรช่วงวัยรุ่น (เริ่มตั้งแต่อายุ 13 - 20 ปี | 290 | 282 | 572 | 8.39 |
ประชากรช่วงวัยผู้ใหญ่ (เริ่มตั้งแต่อายุ 21 - 40 ปี | 998 | 941 | 1,939 | 28.46 |
ประชากรช่วงวัยกลางคน (เริ่มตั้งแต่อายุ 41 - 59 ปี | 1,015 | 1,124 | 2,139 | 31.39 |
ประชากรช่วงวัยผู้สูงอายุ (เริ่มตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป | 609 | 738 | 1,347 | 19.77 |
รวม | 3,323 | 3,491 | 6,814 | 100 |
4. สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
(1) โรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวน2แห่งได้แก่
ในพื้นที่เทศบาลตำบลหัวตะพาน มีโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 2 แห่ง และมีข้อมูล จำนวนนักเรียนดังนี้
ที่ |
ชื่อโรงเรียน |
จำนวนนักเรียน (คน) | ||
พ.ศ. 2562 | พ.ศ. 2563 | พ.ศ. 2564 | ||
1 | โรงเรียนหัวตะพานวิทยาคม | 1,316 | 1,330 | 1,384 |
2 | โรงเรียนศรีเจริญศึกษา | 90 | 88 | 92 |
รวม | จำนวน 2 แห่ง | 1,406 | 1,418 | 1,476 |
(2) โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
ในพื้นที่เทศบาลตำบลหัวตะพาน มีโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 2 แห่ง และมีข้อมูล จำนวนนักเรียนดังนี้
ที่ |
ชื่อโรงเรียน |
จำนวนนักเรียน (คน) | ||
พ.ศ. 2562 | พ.ศ. 2563 | พ.ศ. 2564 | ||
1 | โรงเรียนอนุบาลหัวตะพาน(รัตนวารี) | 461 | 445 | 431 |
2 | โรงเรียนบ้านเสียว | 69 | 74 | 69 |
3 | โรงเรียนบ้านหนองขอน | 26 | 26 | 33 |
4 | โรงเรียนบ้านหัวตะพาน | 167 | 176 | 172 |
รวม | จำนวน 4 แห่ง | 723 | 721 | 705 |
(3) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
เทศบาลตำบลหัวตะพาน ได้ดำเนินการตามโครงการถ่ายโอนภารกิจการจัดการศึกษาระดับก่อนปฐมวัย (3-5 ขวบ) ซึ่งปฏิบัติตามนโยบายการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 78 และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 30 กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายถ่ายโอนการจัดการศึกษาอนุบาล 3 ขวบ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลตำบลหัวตะพานมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน จำนวน 2 แห่ง และมีข้อมูลจำนวนนักเรียนดังนี้
ที่ |
ชื่อโรงเรียน |
จำนวนนักเรียน (คน) | ||
พ.ศ. 2562 | พ.ศ. 2563 | พ.ศ. 2564 | ||
1 | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหัวตะพาน 1 | 87 | 83 | 73 |
2 | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหัวตะพาน 2 | 56 | 48 | 42 |
รวม | จำนวน 2 แห่ง | 143 | 131 | 115 |
(ที่มา : กองการศึกษาเทศบาลตำบลหัวตะพาน)
(4) ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหัวตะพาน จำนวน 1 แห่ง
(5) โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระศรีเจริญ จำนวน 1 แห่ง
4.2สาธารณสุข
- โรงพยาบาลหัวตะพาน จำนวน 1 แห่ง
- สาธารณสุขอำเภอหัวตะพาน จำนวน 1 แห่ง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลหัวตะพาน จำนวน 1 แห่ง
- คลินิก จำนวน 4 แห่ง
- ร้านขายยา จำนวน 4 แห่ง
4.3การสังคมสงเคราะห์
เทศบาลตำบลหัวตะพาน ให้การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์
- ผู้สูงอายุ จำนวน 1,315 ราย
- ผู้พิการ จำนวน 404 ราย
- ผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 30 ราย