สำนักงานเทศบาลตำบลหัวตะพาน

Huataphan Subdistrict Municipality

ยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ


ออนไลน์ : 6

หัวข้อ :: ยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ

ยุทธศาสตร์ของเทศบาลตำบลหัวตะพาน

อำเภอหัวตะพาน  จังหวัดอำนาจเจริญ
 ยุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาลตำบลหัวตะพาน
1) วิสัยทัศน์
          “เมืองน่าอยู่  คู่คุณธรรม การศึกษาดี มีเศรษฐกิจพอเพียง”
 
                    ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
                    กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา
  1. การก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษา ถนน สะพาน ทางเท้า ทางระบายน้ำ ท่อระบายน้ำ
ร่องระบายน้ำ
  1. ก่อสร้าง บำรุงรักษา ขยายเขตไฟฟ้า ติดตั้งระบบไฟฟ้าสาธารณะ
  2. ก่อสร้าง บำรุงรักษา ขยายเขตการบริการประปา พัฒนาแหล่งน้ำใช้อุปโภค บริโภคและการเกษตร
พันธกิจ
พัฒนาระบบคมนาคม และสาธารณูปโภค สาธารณูปการให้ครบถ้วนและครอบคลุม
เป้าประสงค์
1. ระบบคมนาคมขนส่งให้มีมาตรฐานและเชื่อมโยง
2. สาธารณูปโภค สาธารณูปการพื้นฐานมีความครบถ้วนและครอบคลุม
        ตัวขี้วัด
                  1. จำนวนถนนที่คงทนถาวรที่เพิ่มขึ้น
                  2. ระยะทางการขยายเขตประปาที่เพิ่มขึ้น
                  3. จำนวนถนนสาธารณะ
                  4. มีการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างที่เพิ่มขึ้น
                  5. ร้อยละของการพัฒนาเป็นไปตามผังเมือง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    ค่าเป้าหมาย
                  พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้ครบถ้วนและครอบคลุม
    จุดยืนทางยุทธศาสตร์
                  ระบบโครงสร้างพื้นฐานได้รับการพัฒนาอย่างครบถ้วนและครอบคลุม
    ความเชื่อมโยง
                  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด : ประเด็นการพัฒนาที่ " การส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและบริการ และสินค้าชุมชนให้สามารถแข่งขันได้
                  2. ความเชื่อมโยง ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท.ในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
 
    ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 2  ด้านเศรษฐกิจ
    กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา
    (1) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
    (2) ส่งเสริม การเกษตร พัฒนาอาชีพ และกลุ่มอาชีพตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    พันธกิจ
        ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของประชาชน
    เป้าประสงค์
        ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพียงพอ
    ตัวขี้วัด
        ร้อยละของประชาชน 15 - 60 ปี มีอาชีพและมีรายได้
    ค่าเป้าหมาย
        ประชาชนมีอาชีพและรายได้
    จุดยืนทางยุทธศาสตร์
        ประชาชนมีอาชีพและรายได้
        ความเชื่อมโยง
                 1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด : ประเด็นการพัฒนาที่ 1 การส่งเสริมและยกระดับการ
    พัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าเกษตรปลอดภัย อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และผลิตภัณฑ์สมุนไพร
              2. ความเชื่อมโยง ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท.ในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ  ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
    ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 3 ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
    กลยุทธิ์/แนวทางการพัฒนา
    (1) ส่งเสริมและพัฒนาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    (2) ส่งเสริมสุขภาพ และสวัสดิการขุมชน
    (3) ส่งเสริมการจัตระเบียบสังคม ความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
    พันธกิจ
        บริหารจัดการรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน
    เป้าประสงค์
        1. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
        2. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนเข้มแข็ง
    ตัวขี้วัด
        1. ร้อยละของครัวเรือนที่ได้รับบริการจัดเก็บขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้น
        2. มีระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น
        3. จำนวนกิจกรรมอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ
        4. ส่งเสริมสุขภาพอนามัย ควบคุมและป้องกันโรคต่างๆในชุมชน
        5. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
    ค่าเป้าหมาย
        ประชาชนมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
    พัฒนาสังคมและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่
    จุดยืนทางยุทธศาสตร์
        พัฒนาสังคมและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    อย่างมี ประสิทธิภาพและยั่งยืน
    ความเชื่อมโยง
        1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด : ประเด็นการพัฒนาที่ 4 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ป่า ดิน น้ำ และพลังงาน เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์สมดุลยั่งยืน และประเด็นการพัฒนาที่ 2 การพัฒนาคน หมู่บ้าน ชุมชน ให้มีคุณภาพ มั่นคง เข้มแข็ง และทันสมัย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
        2. ความเชื่อมโยง ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท.ในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ ยุทธศาสตร์ที่ 4 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 4 ด้านการศึกษา
กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา
(1) ส่งเสริมและรักษา ศิลปวัฒนธรรม จารีต ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
(2) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนาอย่างต่อเนื่อง
(3) ส่งเสริม กีฬาและนันทนาการ
(4) ส่งเสริมและการพัฒนาการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
พันธกิจ
พัฒนาสังคมและการศึกษาของประชาชนทั่วถึง
เป้าประสงค์
1. การจัดการศึกษามีคุณภาพ ได้มาตรฐาน
2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศาสนา สืบสานประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตัวขี้วัด
ร้อยละของประชาชนมีคุณภาพการศึกษาครอบคลุมครบถ้วน
ค่าเป้าหมาย
ประชาชนมีคุณภาพการศึกษาที่ดีขึ้น
จุดยืนทางยุทธศาสตร์
ประชาชนมีคุณภาพการศึกษาที่ดี
ความเชื่อมโยง
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด : ประเต็นการพัฒนาที่ 4 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ป่า ดิน น้ำ และพลังงาน เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์สมดุลยั่งยืน
2. ความเชื่อมโยง ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท.ในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา อนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น และ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 5 ด้านการบริหารการจัดการบ้านเมืองที่ดี
กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา
(1) พัฒนาการบริหารจัดการขององค์กรให้มีประสิทธิภาพและโปรงใส
(2) พัฒนาศักยภาพของบุคลากรอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
(3) ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
พันธกิจ
พัฒนาการบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาลให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส
เป้าประสงค์
การบริหารจัดการองค์กรมีประสิทธิภาพ โปร่งใส
ตัวขี้วัด
ร้อยละของประชาชนมีความพึงพอใจ
ค่าเป้าหมาย
องค์กรมีประสิทธิภาพและโปร่งใส
จุดยืนทางยุทธศาสตร์
บริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาลให้มีประสิทธิภาพ และ โปรงใส
    ความเชื่อมโยง
    1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด : ประเด็นการพัฒนาที่ 4 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ป่า ดิน น้ำ และพลังงาน เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์สมดุล
    2. ความเชื่อมโยง ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อปท.ในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
 
วันที่ : 5 มกราคม 2566   View : 1816